999arch คาสิโนออนไลน์ เครดิตฟรี สล็อตออนไลน์ เครดิตโบนัสได้เงินจริง slot938 สล็อต สล็อตออนไลน์ thaicasinobin แจกเครดิตฟรี สล็อต บาคาร่า คาสิโนออนไลน์ JQK41 สล็อต เครดิตฟรี ไทยคาสิโนออนไลน์ thaibet55 kubet ไทยคาสิโนออนไลน์ แทงบอล ซอคเกอร์ลีก คะแนนฟุตบอล เว็บพนันอันดับ1 HUC99 เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์ ขอเครดิตฟรีหน่อยครับสมัครปุ๊บรับปั๊บไม่ต้องฝาก
ประวัติ โรงเรียน – โรงเรียนบ้านสร้างบาก

ประวัติ โรงเรียน

โรงเรียนบ้านสร้างบาก ตั้งอยู่เลขที่ 44 หมู่ที่ 10 ตำบลวังหิน อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ประวัติ

          โรงเรียนตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2487 โดยความร่วมมือร่วมใจของประชาชนบ้านสร้างบาก ในขณะนั้นเป็นหมู่ที่ 5 ตำบลดวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ จัดการศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 4   มีนักเรียน 30 คน ที่ย้ายมาจากโรงเรียนบ้านดวนใหญ่ (ลีราษฎร์วัฒนา) มีครู 2 คน คือ  นายประมวล สารวรรณ ครูใหญ่และนายเบา  ศรีบุญเรือง มีอาคารเรียนชั่วคราวสร้างเองขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 10 เมตรพื้นดิน หลังคามุงด้วยหญ้าคา มีเนื้อที่ 9 ไร่ จัดการศึกษาตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการและพัฒนาโรงเรียนด้วยดีอย่างต่อเนื่อง

          ในปี พ.ศ. 2494 ได้รื้อถอนอาคารชั่วคราวแล้วปลูกสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ขนาด 2 ห้องเรียน ยกพื้นสูง 1 เมตร หลังคามุงด้วยหญ้าคา จัดสร้างโดยประชาชนในหมู่บ้านและได้รับความอนุเคราะห์จากเจ้าอาวาสวัดดวนใหญ่ ให้ความช่วยเหลือในการจัดสร้าง

           ในปี พ.ศ. 2504 ได้รื้อถอนอาคารแบบ ป.1 แล้วสร้างใหม่แบบ ป.1 ซ มีขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 24 เมตร โดยความร่วมมือจากประชาชนในหมู่บ้านและได้รับงบประมาณจากรัฐบางส่วน

          ในปี พ.ศ. 2509 นายประมวล สารวรรณ  ครูใหญ่เกษียณอายุราชการ ทางราชการได้แต่งตั้งนายบุญเลี้ยง คำเนตร มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ และในปี พ.ศ.2517 ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครู 1 หลัง  ปี 2518 นายบุญลี้ยง  คำเนตร ย้ายไปดำรงตำแหน่งที่อื่น และทางราชการได้แต่งตั้ง   นายคำตัน สมุทร ดำรงตำแหน่งครูใหญ่

          ในปี พ.ศ. 2521 กระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนแปลงการใช้หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2503 มาใช้หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2521 เริ่มใช้ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ใน ปี พ.ศ.2522 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ ศก 04 จำนวน 1  หลัง และเปิดเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นปีแรก ในปี พ.ศ.2523 จัดการศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 และโอนสังกัดมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ

          ในปี พ.ศ. 2528 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ สปช 105/26 จำนวน 1 หลัง 4 ห้องเรียน

          ในปี พ.ศ. 2529 นายคำตัน สมุทร ย้ายไปที่อื่น ทางราชการได้แต่งตั้งนายพรมมา ดวนใหญ่ ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านดวนใหญ่ (ลีราษฎร์วัฒนา) มารักษาการในตำแหน่งครูใหญ่และได้ย้ายไปช่วยราชการที่สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอวังหิน ทางราชการได้แต่งตั้งนายบุญส่ง เสาสิริ  มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ได้ขออนุญาตและรื้อถอนอาคารเรียนแบบ ป.1ซ ได้พัฒนาโรงเรียนทั้งด้านอาคารสถานที่ และงานด้านวิชาการด้วยดีมาเป็นลำดับ เมื่อปี พ.ศ.2535 ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนดีเด่นระดับ สปอ.และรับรางวัลชมเชยในระดับ สปจ.

          ในปี พ.ศ. 2537 นายบุญส่ง เสาศิริ ย้ายไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านกะเอิน และนายสมชาย จันทะเสน อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านหนองปิงโปง ย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่แทน จนถึงปัจจุบันและได้ประเมินผลงานเข้าสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน เมื่อปี พ.ศ. 2540 ได้จัดการศึกษาพัฒนาผู้เรียน อาคารสถานที่ให้น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน โดยได้รับความร่วมมือจากชุมชนด้วยดีอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น

          ในปี พ.ศ. 2539 ชุมชนได้บริจาคอุปกรณ์สนามเด็กเล่น มูลค่า 29,140 บาท ถมที่บริเวณหน้าเสาธงงบประมาณ 21,000 บาท และโรงเรียนได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนดีเด่นระดับอำเภอ

          ในปี พ.ศ. 2540 เข้าร่วมโครงการโรงเรียนปัจจุบัน ได้รับงบประมาณสร้างห้องปฏิบัติการทางภาษาและห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ปี พ.ศ.2542 โรงเรียนร่วมกับชุมชนบริจาคถมที่ทำเป็นสนามกีฬา ใช้งบประมาณ 135,000 บาท ได้รับบริจาคเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์จาก  นายวอเนอร์ แคร็ง จำนวน 4 เครื่อง และได้รับจัดสรรงบประมาณจากรัฐ สร้างส้วมแบบ สปช 601/26  จำนวน 1 หลัง 4 ที่นั่ง ถังเก็บน้ำฝนแบบ ฝ.30 (พิเศษ) และต่อเติมอาคารเรียนแบบ สปช 102/26 จำนวน 2 ห้องเรียน

          ในปี พ.ศ. 2545 โรงเรียนเข้าร่วมเป็นโรงเรียนเครือข่ายการใช้หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เริ่มใช้ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 4

          ในปี พ.ศ. 2546 โรงเรียนร่วมกับชุมชนจัดทำผ้าป่าสามัคคีเพื่อนำมาสร้างรั้วล้อมรอบโรงเรียนทั้ง 4 ด้าน พร้อมป้ายชื่อโรงเรียนแล้วเสร็จใช้งบประมาณ 408,916 บาท ปรับปรุงห้องสมุดใช้งบประมาณ 66,100 บาท และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้ทำบุญกับข้าวใหญ่ เพื่อจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด จำนวน 25,204 บาท ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2546 มีการปฏิรูประบบราชการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 โรงเรียนเปลี่ยนมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และโรงเรียนได้รับการประเมินภายนอกรอบแรก เมื่อวันที่ 19 – 20 และ 29 กุมภาพันธ์ 2547 จากสำนักงานประเมินคุณภาพการศึกษา (มหาชน) ผลอยู่ในระดับดี

          ในปีการศึกษา 2547 โรงเรียนจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา (ชั้นอนุบาลปีที่ 1- 2 ) ตามหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2546 และประถมศึกษา (ชั้น ป.1 – 6) ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยโรงเรียนได้ดำเนินการจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษา ในปีการศึกษา 2548,2549 และ 2550 ได้พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพได้มาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาและเมื่อวันที่   14 – 16 กุมภาพันธ์ 2550 ได้รับการประเมินภายนอกจากสำนักงานประเมินคุณภาพการศึกษา (มหาชน) ในรอบที่สอง ผลการประเมิน ได้รับรองมาตรฐานในระดับดี และในปีนี้ได้ร่วมกับชุมชนจัดทำผ้าป่าสามัคคี เพื่อสร้างอาคารเรียนอนุบาล

          ในปี พ.ศ. 2551 ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐจัดสร้างอาคารเรียนแบบ สปช.105/29 จำนวน 1 หลัง 4 ห้องเรียน และได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนอนุบาล โดยใช้งบประมาณจากการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา การจัดทำผ้าป่าสามัคคี ปี 2550 สร้างแล้วเสร็จใช้งบประมาณทั้งสิ้น 654,399 บาท และทำพิธีมอบและเปิดอาคารเรียนทั้งแบบ สปช.105/29 และอาคารเรียนอนุบาลร่วมใจ ในวันที่ 11 สิงหาคม 2551

          ในปี พ.ศ. 2551- 2552  ได้ปรับปรุงส้วมแบบ สปช. 601/ 29 โดยการปูกระเบื้องเซรามิก  ซ่อมแซมส่วนต่างๆ  ให้สมบูรณ์และปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สะอาด  ถูกสุขลักษณะ  มีบรรยากาศน่าดู  น่าใช้  ส่วนรั้วล้อมโรงเรียนได้จัดให้มีการทาสีใหม่สวยงาม

          ปีการศึกษา 2553  จัดการศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามภารกิจพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพได้มาตรฐานการศึกษา ส่งเสริม พัฒนาให้นักเรียนเต็มศักยภาพ ได้งบประมาณซ่อมแซมเปลี่ยนหลังคาอาคารอเนกประสงค์ และพัฒนาสภาพแวดล้อมให้มีบรรยากาศที่ดีต่อการเรียนรู้ของนักเรียน

          ปีการศึกษา 2554  จัดการศึกษาโดยใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ส่วนระดับปฐมวัยใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546

          ปีการศึกษา 2555  จัดการศึกษาโดยใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ส่วนระดับปฐมวัยใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546

           เมื่อวันที่ 27 – 29 มิถุนายน  2555 ได้รับการประเมินภายนอกจากสำนักงานประเมินคุณภาพการศึกษา (มหาชน) ในรอบที่สาม ผลการประเมินฉบับร่างทั้งสองระดับอยู่ในระดับ ดี 11  มาตรฐาน และระดับพอใช้  1  มาตรฐาน